เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุ
วัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีเหล่านี้แสดงวัตถุ 10 ประการในกรุงเวสาลี คือ

1. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง1 แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
2. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป 2 องคุลีได้)
3. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
4. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
5. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
6. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
7. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
8. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
9. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
10. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเราจงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะ
รุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวก
อธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวก
วินยวาที จะอ่อนกำลัง
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว

เรื่องภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะและทักขิณาบถ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะประมาณ 60 รูป ทั้งหมดถือธุดงค์
คือ อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งหมดเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ทั้งหมดทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต ภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีทักขิณาบถประมาณ 80 รูป บางพวกถือธุดงค์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :401 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [12. สัตตสติก ขันธกะ] 1. ปฐมภาณวาร
อยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร บางพวกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บางพวกมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
นี้หยาบช้ารุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้พวกเราเข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”

เรื่องพระเรวตะ
[451] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความ
ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่
เมืองโสเรยยะ ถ้าพวกเรา ได้ท่านพระเรวตะมาเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ท่านพระเรวตะได้ยินภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากันด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์นี้หยาบช้ารุนแรง การที่
เราจะดูดายต่ออธิกรณ์นี้ไม่สมควร เวลานี้ภิกษุเหล่านั้นกำลังมาหาเรา เรานั้นคลุกคลี
กับภิกษุเหล่านั้นจะอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไรเราควรไปเสียก่อน”
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงเดินทางจากเมืองโสเรยยะไปเมืองสังกัสสะ
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินทางไปเมืองโสเรยยะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองสังกัสสะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองสังกัสสะไปเมืองกัณณกุชชะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :402 }